ทำไมที่ดินในกรุงเทพต้องเสียภาษี แต่ต่างจังหวัดไม่ต้อง

ภาษีที่ดิน

เรื่องของ “ภาษี” นั้น…เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกๆ คนไม่ว่าจะฐานะแบบไหน หากอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ควรที่จะทำหน้าที่อย่างถูกต้องกันนะครับ แต่ก็มีหลายๆ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การจ่ายภาษี” กันครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง “ทำไมที่ดินในกรุงเทพต้องเสียภาษี แต่ต่างจังหวัดไม่ต้อง” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน”

 “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีรูปแบบใหม่ที่มาแทน “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือพูดง่าย ๆ คือรัฐไม่ต้องการให้ที่ดินถูกทิ้งร้างโดยไม่เกิดการพัฒนา ผู้ที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้มี 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  • เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดิน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากใครมีชื่อเป็น “เจ้าของ” คน ๆ นั้นคือ ผู้ที่ต้องเสียภาษี
  • เจ้าของห้องชุด หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  • ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้
  • ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อ ผู้เป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในวันที่ 1 มกราคมของทุก ๆ ปี จะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน แต่เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายใหม่ กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ
  • ที่ดินเพื่อการเกษตร รัฐจะเก็บภาษีสูงสุดเพียง 0.15% ของมูลค่าทรัพย์สิน โดยที่ 3 ปีแรก คือปี 2563 – 2565 รัฐจะยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของที่เป็น “บุคคลธรรมดา”
  • ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย โดยผู้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นเพียงเจ้าของบ้านที่ไปปลูกในที่ดินของคนอื่นจะได้รับการยกเว้นในกรณีที่บ้านหลังนั้นมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้หากมีบ้านหลายหลังก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะบ้านหลังหลักเท่านั้น

เกณฑ์การเสียภาษีที่ดินที่ควรรู้

  • ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15% สำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินที่มูลค่าเกิน 50 ล้าน จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรกแต่ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ สำหรับเจ้าของที่เป็นนิติบุคคล ก็เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
  • ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30% สำหรับบ้านหลังหลัก ที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ สำหรับเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน (คอนโดมิเนียม หรือสร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า) จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ แต่สำหรับคนมีบ้านหลายหลัง ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ที่ดินหรือบ้านหลังที่ 2 จะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้น
  • ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.20% หมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
  • ที่รกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3% ถ้ามีที่ดินเปล่าแต่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ใดใด จะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียภาษีแพงที่สุดและถ้าปล่อยรกร้างไว้นานติดต่อกัน 3 ปี เมื่อไปเสียภาษีในปีที่ 4 จะถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%

ข้อยกเว้น : หากเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมาจะได้ลดภาษีอีก 50%

ทำไมที่ดินในกรุงเทพต้องเสียภาษี แต่ต่างจังหวัดไม่ต้อง

ต้องกล่าวเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องใหม่เลยครับ เพราะปัจจุบันนั้น ที่ดินทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด หากเข้าเกณฑ์เสียภาษีแล้วนั้น…ก็ต้องเสียภาษีที่ดินกันทั้งหมด เพียงแค่เรทภาษีอาจจะต่างกันบ้างในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่นั้นเองครับ

เป็นิย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำไมที่ดินในกรุงเทพต้องเสียภาษี แต่ต่างจังหวัดไม่ต้อง” ซึ่งเราได้กล่าวไปแล้วว่าต้องเสียภาษีที่ดินเหมือนกันนั้นเอง หวังว่าจะเป็นคำตอบและความรู้ที่นำมาฝากจะเป็นประโยชน์นะครับ

You Might Also Like