กฏหมายเกี่ยวกับเรื่องของที่ดินที่ควรรู้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

หากว่ากันด้วยเรื่องของ “ที่ดิน” แล้วนั้น…หลายๆ ท่านก็คงจะคิดถึงเรื่องของการเช่าหรือการทำการเกษตรกันอยู่ใช่มั้ยหล่ะครับ วันนี้เราอยากจะพาทุกๆ ท่านไปค้นหาวความรู้ในอีกมุมหนึ่งซึ่งนั้นก็คือเรื่องของ “กฏหมายเกี่ยวกับเรื่องของที่ดินที่ควรรู้” นั้นเองครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง?

รู้จักกับ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน เป็นการเรียกเก็บภาษีตามกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่มีความซ้ำซ้อนกันอยู่ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต

กฏหมายเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน” ที่ควรรู้

ผู้เสียภาษี สำหรับผู้ที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องดูจากความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งดูตามชื่อที่มีอยู่ในโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ตามทะเบียนบ้าน โดยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

– เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
– ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ (สามารถเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้)

โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ของปีไหน จะมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนั้นเป็นต้นไป ในกรณีที่มีผู้ครอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 1 คนขึ้นไป ทุกคนจะต้องรับผิดชอบภาษีดังกล่าวร่วมกัน

การเลี่ยงการจ่ายภาษีที่ดิน สำหรับผู้ที่เลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเพิกเฉยไม่สนใจที่จะชำระภาษีถือว่าเป็นผู้ที่มีความผิด และจำเป็นต้องได้รับโทษทางกฎหมาย โดยแบ่งออกได้ 3 ระดับ ดังนี้

โทษปรับ เป็นบทลงโทษในระดับเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เสียภาษีที่ดินไม่ครบตามจำนวนภายในเวลาที่กำหนด จะต้องถูกปรับตามเกณฑ์ที่ระบุเอาไว้

-เสียเบี้ยปรับ 10% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน

-เสียเบี้ยปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระในระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้

-เสียเบี้ยปรับ 40% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้าเกินระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้

-ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม เป็นบทลงโทษเพิ่มเติมในกรณีชำระภาษีล่าช้า โดยนับตั้งแต่วันที่การชำระภาษีเลยเวลา ด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ

-โทษทางอาญา โดยมีการกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และปรับสูงสุดไมเกิน 40,000 บาท

แนะนำวิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะใช้วิธีการคำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละขั้น ดังนี้

  • ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง สำหรับภาษีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง สูตร ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูตร ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
  • ห้องชุด สำหรับห้องชุด โดยมูลค่าห้องชุดคือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุดต่อตารางเมตร สูตรภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามารถลดหย่อนได้หรือไม่?

ทีการลดหย่อนโดยการปรับลดภาษีที่ดินฯ 15% ของภาษีที่คำนวณได้ จะครอบคลุมที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และที่รกร้างว่างเปล่า ขณะที่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการลดภาษี 50% ตามกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะได้รับการลดหย่อนเพิ่มอีก 15% นั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับเรื่องของที่ดินที่ควรรู้” ที่เราได้รวบวรมมาฝากทุกๆ ท่านกันในช้างต้น คิดว่าจะเป็นประโยชน์และความรู้ที่ดีนะครับ

You Might Also Like